อ้างอิง:http://www.youtube.com/watch?v=XDmnjKdOXHo
การเกษตรแบบผสมผสาน
วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557
เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)
ยินดีต้อนรับสู่การเรียนรู้ เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)
จัดทำโดย
นางสาวนิธิพรรณ มูสิกอุปถัมภ์ ม.5/934 เลขที่ 17
เสนอ
อ.ประพิศ ฝาคำ
การ์ตูนเดินตามพ่อ ตอน เกษตรทฤษฎีใหม่.avi
อ้างอิง:http://www.youtube.com/watch?v=XDmnjKdOXHo
เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)
การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่มีการผสม กลมกลืน และเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามธรรมชาติ มีตัวอย่างให้เห็นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ใน ประเทศจีน มีการเลี้ยงสุกรผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ และในประเทศญี่ปุ่น มีการเลี้ยงปลาในนา ข้าว เป็นต้น สำหรับประเทศไทยในอดีต ไม่มีระบบการเกษตรแบบผสมผสานที่ชัดเจนนัก ระบบการเกษตรดั้งเดิมของไทยน่าจะใกล้เคียงกับระบบที่เรียกว่า “ไร่นาสวนผสม” เนื่องจากเป็น ระบบการเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการยังชีพ หรือเพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน เป็นหลัก มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายๆ อย่างรวมอยู่ในพื้นที่เดียวกันสำหรับใช้บริโภคใน ครอบครัว แต่มิได้ดการให้กิจกรรมการผลิตผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อลดต้นทุนการผลิตและใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรย่างสูงสุดเหมือนการเกษตรแบบผสมผสาน ไร่นาสวนผสมอาจมีกลไกการ เกื้อกูลกันจากกิจกรรมการผลิตได้บ้างแต่ก็เพียงเล็กน้อย และเป็นกลไกที่เกิดเอง
การเลี้ยงปลาในนาข้าวและการเกษตรแบบผสมผสานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ประการหนึ่งของฒนาการและการก่อตัวของขบวนการเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทย โดยในช่วง ปลายทศวรรษ 2520 ภาคอีสานประสบปัญหาภัยแล้งและประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร จึงเริ่มมี การเลี้ยงปลาในนาข้าวนักพัฒนาได้ค้นพบรูปแบบและเทคนิคการเกษตรอื่นๆ อีก เช่น รูปแบบ การเกษตรแบบสมผสานของมหาอยู่ สุนทรธัย ซึ่งเป็นการประยุกต์รูปแบบการทำสวนยกร่องแถบ ภาคกลางไปพัฒนาเป็นระบบเกษตรแบบผสมผสานที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากการสร้างสระเก็บน้ำในไร่นา จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนามาปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างช้าๆ จนกระทั่งกิจกรรมการผลิตต่างๆ ได้เข้าสู่ระบบผสมผสานอย่างเต็มรูปแบบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2516 ทั้งนี้ การเกษตรแบบผสมผสานเริ่มขยายตัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา
การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นการจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ ประมง ให้มีการผสมผสานอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน โดยการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดดอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลย์ ของภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติด้วย
โดยเนื้อหาสาระของเกษตรแบบผสมผสานมี 4 ประการคือ
1. ประกอบด้วยกิจกรรมการผลิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจเป็นการผสมผสาน ระหว่างพืชกับพืช สัตว์กับสัตว์ หรือสัตว์กับพืช
2. กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลกันเป็นวงจร โดยพิจารณาจาก การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับอาหาร อากาศและพลังงาน
3. ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
4. ใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยเป็นแรงงานที่มีอยู่ภายในครอบครัว ครอบครัวเกษตรกรต้องมีความใจเย็นและเข้าใจ มีความอดทนมุมานะในการทำกิจกรรมอย่าง ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งต่างจากที่เคยทำในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำเสร็จแล้วก็เสร็จเลย แต่การทำ เกษตรแบบผสมผสานต้องให้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ประเภทของระบบเกษตรแบบผสมผสาน มีดังนี้
1. แบบดั้งเดิม เป็นประเภทที่มีการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลักในครัวเรือนหรือชุมชน เช่น การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เพียงเพื่อประโยชน์สำหรับใช้หรือบริโภคใน ครัวเรือนเท่านั้น
2. แบบกึ่งการค้า เป็นประเภทที่เกษตรกรผลิตสินค้าการเกษตรชนิดเดียวซึ่ง อาจจะเป็นข้าวหรือพืชไร่ก็ตาม โดยผลิตเพื่อเป็นอาหารและเป็นรายได้หลัก แต่เนื่องจากการผลิตมี ความเสี่ยงในด้านความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมเกิดการระบาดของศัตรูพืช ความไม่แน่นอน ของราคาผลผลิต จึงหันมาดำเนินการผลิตในระบบเกษตรแบบผสมผสานซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลด ความเสี่ยงได้
3. แบบเชิงการค้า เป็นประเภทที่เหมาะสมกับเกษตรกรก้าวหน้าซึ่งมี ประสบการณ์และความสามารถในการผลิตเป็นแบบการค้า เช่น สามารถผลิตพืชและมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน
ความสำคัญของการทำเกษตรแบบผสมผสาน
1. เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน เมื่อสภาวะ ราคาพืชผลผันแปรเกิดหนี้สิน เกษตรกรสามารถนำเอาปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสียเงินทองซื้อมา เมื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้ ยืนอยู่บนขาของตัวเองโดยมีปัจจัยพื้นฐานสำหรับดำรงชีพที่ผลิตได้เอง ก็สามารถมีความสุขได้อย่าง ยั่งยืน
2. เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่โดยมีการจัดการเรื่องทุน ที่ดิน และแรงงานอย่าง มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลผลิตต่อหน่วยการผลิตสูง เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว ทำให้ได้ทั้งพืช ผลผลิตข้าวและปลา ในพื้นที่เดียวกัน
3. สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมให้ เกิดขึ้นในไร่นาและครอบครัวการเกษตร
4. เกษตรแบบผสมผสานลดความเสี่ยงในการผลิต ในด้านการผลิตที่อาจ เสียหาย หรือความไม่แน่นอนและเสียเปรียบเรื่องราคา ตลอดจนไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ
5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์ได้ เพราะการปลูกไม้ยืนต้นไม่ว่าจะเป็นไม้ผลหรือไม้ใช้สอยในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะช่วยให้เกิด ความร่มเย็น มูลสัตว์จะเป็นปุ๋ยแก่พืช เศษพืชเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยอินทรีย์
6. เกษตรกรมีงานทำตลอดปี จะช่วยแก้ปัญหาการอพยพแรงงานจากชนบท เข้าสู่เมือง ตัดปัญหาการขายแรงงาน การก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ เป็นต้น
1. ประกอบด้วยกิจกรรมการผลิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจเป็นการผสมผสาน ระหว่างพืชกับพืช สัตว์กับสัตว์ หรือสัตว์กับพืช
2. กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิดจะต้องเกื้อกูลกันเป็นวงจร โดยพิจารณาจาก การหมุนเวียนการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับอาหาร อากาศและพลังงาน
3. ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
4. ใช้แรงงานคนเป็นหลัก โดยเป็นแรงงานที่มีอยู่ภายในครอบครัว ครอบครัวเกษตรกรต้องมีความใจเย็นและเข้าใจ มีความอดทนมุมานะในการทำกิจกรรมอย่าง ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งต่างจากที่เคยทำในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ทำเสร็จแล้วก็เสร็จเลย แต่การทำ เกษตรแบบผสมผสานต้องให้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ประเภทของระบบเกษตรแบบผสมผสาน มีดังนี้
1. แบบดั้งเดิม เป็นประเภทที่มีการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลักในครัวเรือนหรือชุมชน เช่น การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา เพียงเพื่อประโยชน์สำหรับใช้หรือบริโภคใน ครัวเรือนเท่านั้น
2. แบบกึ่งการค้า เป็นประเภทที่เกษตรกรผลิตสินค้าการเกษตรชนิดเดียวซึ่ง อาจจะเป็นข้าวหรือพืชไร่ก็ตาม โดยผลิตเพื่อเป็นอาหารและเป็นรายได้หลัก แต่เนื่องจากการผลิตมี ความเสี่ยงในด้านความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมเกิดการระบาดของศัตรูพืช ความไม่แน่นอน ของราคาผลผลิต จึงหันมาดำเนินการผลิตในระบบเกษตรแบบผสมผสานซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลด ความเสี่ยงได้
3. แบบเชิงการค้า เป็นประเภทที่เหมาะสมกับเกษตรกรก้าวหน้าซึ่งมี ประสบการณ์และความสามารถในการผลิตเป็นแบบการค้า เช่น สามารถผลิตพืชและมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน
ความสำคัญของการทำเกษตรแบบผสมผสาน
1. เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน เมื่อสภาวะ ราคาพืชผลผันแปรเกิดหนี้สิน เกษตรกรสามารถนำเอาปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดโดยไม่เสียเงินทองซื้อมา เมื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้ ยืนอยู่บนขาของตัวเองโดยมีปัจจัยพื้นฐานสำหรับดำรงชีพที่ผลิตได้เอง ก็สามารถมีความสุขได้อย่าง ยั่งยืน
2. เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่โดยมีการจัดการเรื่องทุน ที่ดิน และแรงงานอย่าง มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลผลิตต่อหน่วยการผลิตสูง เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว ทำให้ได้ทั้งพืช ผลผลิตข้าวและปลา ในพื้นที่เดียวกัน
3. สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมให้ เกิดขึ้นในไร่นาและครอบครัวการเกษตร
4. เกษตรแบบผสมผสานลดความเสี่ยงในการผลิต ในด้านการผลิตที่อาจ เสียหาย หรือความไม่แน่นอนและเสียเปรียบเรื่องราคา ตลอดจนไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ
5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพที่อุดมสมบูรณ์ได้ เพราะการปลูกไม้ยืนต้นไม่ว่าจะเป็นไม้ผลหรือไม้ใช้สอยในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะช่วยให้เกิด ความร่มเย็น มูลสัตว์จะเป็นปุ๋ยแก่พืช เศษพืชเป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ยอินทรีย์
6. เกษตรกรมีงานทำตลอดปี จะช่วยแก้ปัญหาการอพยพแรงงานจากชนบท เข้าสู่เมือง ตัดปัญหาการขายแรงงาน การก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ เป็นต้น
7. ลดการใช้พลังงานในการเกษตรลง เพราะปัจจัยการใช้พลังงานสามารถ จัดหาได้จากผลพลอยได้จากผลผลิตในไร่นา เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักและไม้ใช้สอยที่ เกิดจากไม้โตเร็วต่าง ๆ แรงงานจากสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย
8. รักษาสภาพทางนิเวศวิทยา การทำเกษตรแบบผสมผสานเป็นการเพิ่มพูน ความอุดมสมบูรณ์ให้กับคน รักษาความสมดุลย์ให้กับสภาพแวดล้อมซึ่งความสมดุลย์จะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ เช่น ก๊าซไนโตรเจนในธรรมชาติจะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ ในรากพืชตระกูลถั่วและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จนทำให้ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปที่พืชจะสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนธาตุอาหารอื่นๆ พืชสามารถสะสมพลังงานแสงแดดในรูปของเนื้อไม้ อาหารและโปรตีน เศษซากพืชที่ร่วงหล่นบนพื้นดินจะเน่ากลายเป็นอาหารพืช
8. รักษาสภาพทางนิเวศวิทยา การทำเกษตรแบบผสมผสานเป็นการเพิ่มพูน ความอุดมสมบูรณ์ให้กับคน รักษาความสมดุลย์ให้กับสภาพแวดล้อมซึ่งความสมดุลย์จะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ เช่น ก๊าซไนโตรเจนในธรรมชาติจะถูกเปลี่ยนเป็นอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ ในรากพืชตระกูลถั่วและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จนทำให้ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปที่พืชจะสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนธาตุอาหารอื่นๆ พืชสามารถสะสมพลังงานแสงแดดในรูปของเนื้อไม้ อาหารและโปรตีน เศษซากพืชที่ร่วงหล่นบนพื้นดินจะเน่ากลายเป็นอาหารพืช
ผลที่เกิดจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน
1. ผลระดับครัวเรือน
1.1 ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ
ทำตามกำลังและศักยภาพแห่งตน เน้นการพึ่งตนเองในทุกๆ ด้าน สามารถอุ้มชูตัวเองได้
ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัย ภายนอก
1.2 สร้างเสถียรภาพ (Stability) และความยั่งยืน (Sustainability)
ทั้งทางเศรษฐกิจและทางสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้นในไร่นาและครอบครัวของเกษตรกร
1.3 เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยการผลิต (ที่ดิน แรงงานและทุน)
1.4 ปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการ และคุณภาพของประชากรใน ท้องถิ่นให้ดีขึ้นเพราะมีอาหารครบตามต้องการทุกหมู่ เช่น แป้ง น้ำตาล โปรตีน และเกลือแร่
ที่ได้จากผลผลิตในไร่นา
1.5 เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานให้สูงขึ้น เพราะไม่มีเศษเหลือ แม้แต่มูลสัตว์ก็สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานและปุ๋ยได้
1.6 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในระดับไร่นาให้ดีขึ้น มีสภาพเกื้อกูลกันและ กันอย่างยั่งยืน
1.7 รักษาสถานะของมาตรฐานการครองชีพโดยการพึ่งพาตนเองเพื่อ สามารถยังชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงิน หรือซื้อปัจจัยในการดำรงชีพด้วยเงินสดราคาแพง
2. ผลในระดับชาติ
2.1 ช่วยลดพลังงานในการเกษตรลง เพราะสามารถหาได้จากผลพลอยได้ จากการผลิตในไร่นามาทดแทน เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากพืช ไม้ใช้สอยจากการ ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็ว แรงงานจากสัตว์
2.2 การใช้แรงงานต่อเนื่องตลอดทั้งปีในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะ ช่วยแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาขายแรงงานในเมือง
2.3 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์
ความพอเพียงนี้มิได้หมายถึงสังคมเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะให้ผู้คนในประเทศ ทุกสาขาอาชีพ ยึดเป็นแนวปฏิบัติดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
1. ผลระดับครัวเรือน
1.1 ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ
ทำตามกำลังและศักยภาพแห่งตน เน้นการพึ่งตนเองในทุกๆ ด้าน สามารถอุ้มชูตัวเองได้
ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัย ภายนอก
1.2 สร้างเสถียรภาพ (Stability) และความยั่งยืน (Sustainability)
ทั้งทางเศรษฐกิจและทางสภาพแวดล้อมให้เกิดขึ้นในไร่นาและครอบครัวของเกษตรกร
1.3 เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยการผลิต (ที่ดิน แรงงานและทุน)
1.4 ปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการ และคุณภาพของประชากรใน ท้องถิ่นให้ดีขึ้นเพราะมีอาหารครบตามต้องการทุกหมู่ เช่น แป้ง น้ำตาล โปรตีน และเกลือแร่
ที่ได้จากผลผลิตในไร่นา
1.5 เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานให้สูงขึ้น เพราะไม่มีเศษเหลือ แม้แต่มูลสัตว์ก็สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานและปุ๋ยได้
1.6 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในระดับไร่นาให้ดีขึ้น มีสภาพเกื้อกูลกันและ กันอย่างยั่งยืน
1.7 รักษาสถานะของมาตรฐานการครองชีพโดยการพึ่งพาตนเองเพื่อ สามารถยังชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืมเงิน หรือซื้อปัจจัยในการดำรงชีพด้วยเงินสดราคาแพง
2. ผลในระดับชาติ
2.1 ช่วยลดพลังงานในการเกษตรลง เพราะสามารถหาได้จากผลพลอยได้ จากการผลิตในไร่นามาทดแทน เช่น ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากพืช ไม้ใช้สอยจากการ ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็ว แรงงานจากสัตว์
2.2 การใช้แรงงานต่อเนื่องตลอดทั้งปีในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะ ช่วยแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาขายแรงงานในเมือง
2.3 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์
ความพอเพียงนี้มิได้หมายถึงสังคมเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะให้ผู้คนในประเทศ ทุกสาขาอาชีพ ยึดเป็นแนวปฏิบัติดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)